|
|
|
|
วาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดดั้งเดิม (Oral anticoagulant) ใช้ในการรักษาและป้องกันภาวะ thromboembolism เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจชนิดโลหะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหลอดเลือดอุดตัน เป็นต้น วาร์ฟารินเป็น vitamn K antagonist ในกระบวนการ carboxylation ของ factor II, VII, IX และ X ใน coagulation cascade ความสำคัญคือวาร์ฟารินเป็นยาที่มี bioavailability สูง แต่ therapeutic range แคบ นอกจากนี้การตอบสนองของยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อาหารที่มีวิตามินเคปริมาณมาก (food-drug interaction) การออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล การไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง (noncompliance) การใช้ยาอื่นร่วมที่มีผลต่อระดับยาวาร์ฟาริน (drug-drug interaction) หรือสภาวะที่ผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น โรคตับ ภาวะการขาดสารอาหาร และภาวะไข้ เป็นต้น ดังนั้น ขนาดของยาในแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังและเจาะเลือดติดตามอย่างใกล้ชิด |
|
|
|
|
|
|
|
|
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ยาวาร์ฟาริน จึงได้จัดตั้ง "คลินิกวาร์ฟาริน" ให้บริการทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพิ่มระยะเวลาที่ค่า INR อยู่ในช่วงการรักษา (time in therapeutic range :TTR) ลดอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟาริน เช่น ภาวะเลือดออก ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เป็นต้น ทั้งนี้ มีการดูแลผู้ป่วยร่วมกันเป็นทีมระหว่างแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อให้โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์มีระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยต่อไป
|
|

|
|
|
|
|
|
|
|
การคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับการบริบาลในคลินิกวาร์ฟาริน |
|
|
|
|
|
1. ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินครั้งแรก (New case warfarin) |
|
|
2. ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน และมีค่า INR ที่ต่ำกว่า 2 หรือ มากกว่า 3 |
|
|
3. ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน และเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาดังต่อไปนี้ |
|
|
3.1) ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก (Bleeding event) |
|
|
3.2) ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดอุดตัน (Thromboembolic event) |
|
|
|
|
ขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อเข้าคลินิกวาร์ฟาริน |
|
|
|
|
|
1. |
พยาบาลซักประวัติและคัดกรองผู้ป่วยเข้าคลินิกตามเกณฑ์ที่กำหนด |
|
|
|
|
2. |
นักเทคนิคการแพทย์ประสานแจ้งค่า INR วิกฤติ (INR > 3.5) |
|
|
|
|
3. |
เภสัชกรให้การบริบาลแก่ผู้ป่วย |
|
|
|
|
กรณีผู้ป่วยได้รับยาวาร์ฟารินครั้งแรก (New case warfarin) จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็นในการใช้ยาวาร์ฟาริน ความจำเป็นในการมาพบแพทย์ตามนัด อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม |
|
|
|
กรณีผู้ป่วยได้รับยาวาร์ฟาริน และมีค่า INR ไม่อยู่ในเป้าหมายตามที่แพทย์กำหนด หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา |
|
3.2.1 ซักประวัติ เพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้ยา (Drug related problem) |
|
3.2.2 นำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนขนาดยาหรือแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้แพทย์พิจารณาถึงความเหมาะสม |
|
3.2.3 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับผู้ป่วย |
|
|
|
แพทย์พิจารณาให้การรักษาตามแนวทางที่เหมาะสม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนการติดตามอาการของผู้ป่วย |
|
|
|
|
การติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในระยะเริ่มต้นของการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินในช่วงแรกมีความสำคัญมาก เพื่อหาขนาดยาที่คงที่ หรือเหมาะสมในระยะยาว โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของยา เพื่อประโยชน์และความปลอดภัยต่อผู้ป่วย |
|
|
|
|
|
คลินิกวาร์ฟาริน มีกระบวนการติดตามอาการและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เช่น การให้คำปรึกษาด้านการใช้ยาสมุนไพร อาหารเสริม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยเน้นการให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|